เมนู

พระผู้นำ ครั้นทรงประกาศพระธรรมจักรแล้ว
ยังกุมารทั้งสองให้ตรัสรู้แล้ว อภิสมัยครั้งที่ 1 ไม่จำ
ต้องกล่าวจำนวนผู้บรรลุ.


แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปทาเลตฺวา แปลว่า ทำลาย อธิบายว่า
ทำลายความมืดคืออวิชชา. ปาฐะว่า วตฺเตตฺวา จกฺกมาราเม ดังนี้ก็มี
ปาฐะนั้น บทว่า อาราเม ความว่า ณ เขมมิคทายวัน. บทว่า อุโภ โพเธสิ
ได้แก่ ทรงยังกุมารทั้งสองคือ พระขัณฑราชโอรส กนิษฐภาดาของพระองค์
และติสสกุมาร บุตรปุโรหิต ให้ตรัสรู้. บทว่า คณนา น วตฺตพฺโพ
ความว่า ไม่มีการกำหนดจำนวนเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย โดยอภิสมัย.
สมัยต่อมา ทรงยังภิกษุแปดหมื่นสี่พัน ซึ่งบวชตามพระขัณฑราช-
โอรส และติสสกุมารบุตรปุโรหิตให้ดื่มอมฤตธรรม นั้นเป็นอภิสมัยครั้งที่ 2
ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
ต่อมาอีก พระผู้มีพระยศประมาณมิได้ ทรง
ประกาศสัจจะ ณ เขมมิคทายวันนั้น อภิสมัยครั้งที่ 2
ได้มีแก่สัตว์แปดหมื่นสี่พัน.


แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตตฺถ ได้แก่ ณ เขมมิคทายวัน ใน
คำว่า จตุราสีติสหสฺสานิ สมฺพุทฺธมนุปพฺพชุํ นี้ บุรุษที่นับได้แปด
หมื่นสี่พัน เหล่านี้ ก็คือพวกบุรุษที่รับใช้พระวิปัสสีกุมารนั่นเอง บุรุษเหล่า
นั้นไปยังที่รับใช้พระวิปัสสีกุมารแต่เช้า ไม่เห็นพระกุมาร ก็กลับไปเพื่อกิน

อาหารเช้า กินอาหารเข้าแล้ว ถามกันว่า พระกุมารอยู่ไหน แต่นั้น ได้ฟัง
ข่าวว่า เสด็จไปยังที่ราชอุทยาน จึงพากันออกไปด้วยหวังว่าจักพบพระองค์ ณ
ที่ราชอุทยานนั้น เห็นสารถีของพระองค์กลับมา ฟังว่าพระราชกุมารทรงผนวช
แล้ว ก็เปลื้องอาภรณ์ทั้งหมดในที่ฟังข่าวนั่นเอง ให้นำผ้ากาสายะมาจากภายใน
ตลาด ปลงผมและหนวดพากันบวช บุรุษเหล่านั้น ครั้นบวชแล้ว ก็พา
กันไปแวดล้อมพระมหาบุรุษ.
แต่นั้น พระวิปัสสีโพธิสัตว์ ทรงพระดำริว่า เราเมื่อจะบำเพ็ญความ
เพียร ยังคลุกคลีอยู่ ข้อนี้ไม่สมควร คนเหล่านี้ แต่ก่อน เป็นคฤหัสถ์ก็พากัน
มาแวดล้อมเราอย่างนั้น ประโยชน์อะไรด้วยคนหมู่นี้ ทรงระอาในการคลุกคลี
ด้วยหมู่ ทรงพระดำริว่าจะไปเสียวันนี้แหละ ทรงพระดำริอีกว่า วันนี้ยังไม่
ใช่เวลา ถ้าเราจักไปในวันนี้ คนเหล่านั้นจักรู้กันหมด พรุ่งนี้จึงจักไป ในวัน
นั้นนั่นเอง มนุษย์ชาวบ้าน ในบ้านตำบลหนึ่ง เช่นเดียวกับอุรุเวลคาม ได้
จัดแจงข้าวมธุปายาสอย่างเดียว เพื่อบรรพชิตแปดหมื่นสี่พันเหล่านั้น และ พระ-
มหาบุรุษ. ในวันรุ่งขึ้น เป็นวันวิสาขบูรณมี พระวิปัสสีมหาบุรุษ เสวยภัตตาหาร
กับชนที่บวชเหล่านั้นในวันนั้นแล้ว ก็เสด็จไปยังสถานที่ประทับอยู่ ณ ที่นั้น
บรรพชิตเหล่านั้น แสดงวัตรปฏิบัติแด่พระมหาบุรุษแล้ว ก็พากันเข้าไปยัง
สถานที่อยู่กลางคืนและที่พักกลางวันของตนๆ.
แม้พระโพธิสัตว์ ก็เสด็จเข้าไปสู่บรรณศาลา ประทับนั่งทรงพระดำริ
ว่า นี้เป็นเวลาเหมาะที่จะออกไปได้ จึงเสด็จออกอภิเนษกรมณ์ ทรงปิดประตู
บรรณศาลา เสด็จบ่ายพระพักตร์ไปยังโพธิมัณฑสถาน นัยว่า บรรพชิตเหล่า
นั้น เวลาเย็นก็พากันไปยังที่ปรนนิบัติพระโพธิสัตว์ นั่งล้อมบรรณศาลา กล่าว
ว่า วิกาลมืดค่ำแล้ว ตรวจกันดูเถิด จึงเปิดประตูบรรณศาลาก็ไม่พบพระองค์

คิดกันว่า พระมหาบุรุษเสด็จไปไหนหนอ ยังไม่พากันติดตาม คิดแต่ว่า
พระมหาบุรุษ เห็นทีจะเบื่อการอยู่เป็นหมู่ ประสงค์จะอยู่แต่ลำพัง เราจะพบ
พระองค์เป็นพระพุทธเจ้าเท่านั้น จึงพากันออกจาริกมุ่งหน้าไปภายในชมพูทวีป
ลำดับนั้น บรรพชิตเหล่านั้นฟังข่าวว่า เขาว่า พระวิปัสสีถึงความเป็นพระพุทธ
เจ้าแล้ว ประกาศพระธรรมจักร จึงประชุมกันที่เขมมิคทายวัน กรุงพันธุมดี
ราชธานี โดยลำดับ. แต่นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงแสดงธรรมโปรด
บรรพชิตเหล่านั้น ครั้งนั้นธรรมภิสมัย ได้มีแก่ภิกษุแปดหมื่นสี่พัน นั้นเป็น
อภิสมัยครั้งที่ 3. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
บุรุษแปดหมื่นสี่พัน บวชตามเสด็จพระวิปัสสี
สัมพุทธเจ้า พระผู้มีจักษุทรงแสดงธรรมโปรดบรรพ-
ชิตเหล่านั้นซึ่งมาถึงอาราม.
บรรพชิตแม้เหล่านั้น ฟังธรรมของพระองค์ ซึ่ง
ตรัสประทาน โดยอาการทั้งปวง ก็บรรลุธรรมอัน
ประเสริฐ อภิสมัยครั้งที่ 3 ก็ได้มีแก่บรรพชิตเหล่า-
นั้น.


แก้อรรถ


ในคำว่า จตุราสีติสหสฺสานิ สมฺพุทฺธํ อนุปพฺพชุํ นี้ ในคาถา
นั้น พึงทราบว่า ท่านทำเป็นทุติยาวิภัตติว่า สมฺพุทฺธํ โดยประกอบนิคคหิต
ไว้ ความว่า บวชภายหลังพระสัมพุทธเจ้า พึงถือลักษณะตามศัพทศาสตร์
ปาฐะว่า ตตฺถ อารามปตฺตานํ ดังนี้ก็มี. บทว่า ภาสโต แปลว่า ตรัสอยู่.
บทว่า อุปนิสาทิโน ความว่า ผู้เสด็จไปประทานธรรมทานถามอุปนิสสัย !
เตปิ ได้แก่ บรรพชิตนับได้แปดหมื่นสี่พันเหล่านั้น เป็นผู้รับใช้พระวิปัสสี